#สนธิรัตน์สนธิจิรวงศ์ #8โอกาสพลังงานแห่งอนาคต #รัฐมนตรีกระทรวงพลังงาน #2morrowScaler #เศรษฐกิจฐานราก #สามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา
“สามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา ที่มาของแนวคิด สนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รมว.พลังงาน” อีกหนึ่งโอกาสสำคัญที่เราชาว Scaler ได้รับฟังการแบ่งปันประสบการณ์จาก คุณสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รมว.พลังงาน ที่ให้เกียรติมาร่วมถ่ายทอดประสบการณ์แก่กลุ่มนักธุรกิจรุ่นใหม่ “Scaler Club” ที่เป็นการรวมตัวของเหล่า Alumni ในหลักสูตร 2morrow Scaler ที่ตั้งขึ้นมาเพื่อสนับสนุนให้เหล่านักธุรกิจไทย Scale ได้ในทุกระดับทั้งในประเทศและนานาชาติ
“มากกว่าพลังงาน คือ หัวใจในการสร้างสมดุลการเปลี่ยนแปลง” ก่อนเริ่ม Sesssion พี่เว้ วิเชฐ ตันติวานิช ประธานและผู้ร่วมก่อตั้งหลักสูตร 2morrow Scaler ได้เกริ่นนำว่า ผมและท่านรัฐมนตรีสนธิรัตน์ เคยได้รู้จักกันสมัยเริ่มต้นมูลนิธิสัมมาชีพ ซึ่งสิ่งหนึ่งที่เราได้เรียนรู้คือ “ทฤษฎีสามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา” คือ หลักการประสานการเปลี่ยนแปลงสิ่งที่ยากให้เป็นไปได้ โดยพัฒนาให้เกิดความสมดุลระหว่าง 3 ส่วน คือ การสร้างความรู้ที่เกี่ยวข้อง ความเคลื่อนไหวสังคม และ อำนาจรัฐเข้ามาเชื่อมโยงกัน ซึ่งสามารถนำไปใช้ได้ไม่ใช่แค่ด้านพลังงาน แต่คือการสร้างการเปลี่ยนแปลงในทุกด้านอย่างเข้าใจ
“ไม่ได้ชวนให้ทุกคนมาเล่นการเมือง แต่ชวนให้เข้าใจการเมือง เพราะมันกระทบเราแน่นอน” “ไม่มีครั้งไหนทางการเมือง ที่คนยุคใหม่เนื้อหอมที่สุด” คือคำเริ่มต้นบทสนทนาของ รมว.พลังงานในวันนี้ พร้อมอธิบายต่อว่า ในอนาคตอันใกล้ คนยุคใหม่ที่อายุ 38 ปีลงมา จะมีสิทธิ์เลือกตั้งถึง 40% ดังนั้นคนรุ่นใหม่ หนุ่มสาว จึงสำคัญมาก ในการเปลี่ยนผ่านประเทศไทย ไม่ว่าเราจะเป็นใคร การเมืองล้วนส่งผลกระทบต่อเรา หากเราทำธุรกิจ ก็กระทบแน่ๆ แต่วันนี้ผมไม่ได้มาพูดเรื่องการเมือง ผมอยากเริ่มต้นจากเรื่องพลังงาน
“พลังงาน คือ โอกาสที่ใหญ่มากของประเทศไทย” เมื่อโลกเปลี่ยนผ่าน พลังงานจึงเป็นเรื่องสำคัญ ผมมองว่าเราสามารถ Shining ประเทศไทย ได้ด้วยพลังงานเราสามารถเป็นผู้นำในภูมิภาคได้เลย แม้เราจะไม่ได้มีพลังงานมากพอ แต่เราเป็นได้ด้วยกลยุทธ์ เพราะเหตุผลหลัก 2 ประการคือ
1.เรามีบริษัทด้านพลังงานที่มีความแข็งแรงมากพอ เป็นกระดูกสันหลังของประเทศ เสาหลักแรกได้แก่ การไฟฟ้าฝ่ายผลิต (EGAT : กฟผ.) ในอดีต คือองค์กรที่ใหญ่ที่สุด กู้เงินต่างประเทศมากที่สุด และรวบรวมคนเก่งมากที่สุดในประเทศไทย เพราะต้องสร้างเขื่อน สร้างโรงไฟฟ้า ตอนนั้นมีผู้นำองค์กรคือ “Super K” คุณเกษม จาติกวณิช (คุณปู่คุณกรณ์) ที่ทุกคนยอมรับว่าเป็นนายกรัฐมนตรีได้ เพราะบริหารองค์กรที่ใหญ่ที่สุด และทำให้เศรษฐกิจประเทศเติบโต
เสาหลักที่สอง คือ ปตท. ณ วันนี้ ปตท.ใหญ่กว่า EGAT อีก ติด Top Furtune 500 การที่เรามีทั้ง EGAT และ ปตท. ทำให้เราสามารถเป็นผู้นำในภูมิภาคได้เลย ถึงแม้ว่าเราจะไม่ได้มีน้ำมันมหาศาลอย่างประเทศอื่น
2.Location และโครงสร้างพื้นฐาน : พลิกมุมคิด สร้างประเทศไทยเป็น Trader of Asean ในอดีตที่ผ่านมา บริษัทระดับโลกคือ พลังงานทั้งนั้น เพราะว่า Demand ของพลังงานมันใหญ่มาก Vision ของผม คือ ต้องการให้เราเป็นมหาอำนาจด้านพลังงานของอาเซียน (Trader of Asean) วิธีคิดคือ เมื่อก่อนเราคิดแค่ว่าเราต้องการพลังงานเท่าไร และผลิตเท่าไร คือ มอง Demand & Supply ของประเทศ แต่พลังงานเป็นเรื่องที่เราต้องเข้าใจ คือ สมมุติเราต้องการพลังงานจากโรงไฟฟ้าในวันนี้ ไม่ใช่ว่าจะเสกได้เลย แต่ละโรงไฟฟ้าอาจต้องรอ 5-7 ปี และการลงทุนก็มีมูลค่าสูง เช่นประเทศไทยใช้กำลังไฟฟ้าอยู่ราว 50,000 MW (เมกกาวัตถ์) โดยเฉลี่ยลงทุน MW ละ 100 ล้าน หากเพื่อนบ้านต้องลงทุนในโรงไฟฟ้าเพื่อป้อนความต้องการระดับเดียวกัน จะต้องใช้งบลงทุนมหาศาล และต้องรอระยะเวลากว่าจะใช้งานได้ ทั้งพม่า กัมพูชา ต่างก็มีความต้องการไฟมาก ในขณะที่ไทยมีความสัมพันธ์ที่ดีกับนานาประเทศ และยังมี Supply ส่วนเกินในประเทศ ทั้งระบบสายส่งของไทยก็มีความพร้อมมาก หากเราช่วยกัน เอาไฟ ที่มีเหลือเกินความต้องการในประเทศ ไปขายให้ประเทศต่างๆ พร้อมทั้งตัวกลางในกลางซื้อขาย ทำตัวเป็น Trader of Asean เรากลายเป็นผู้นำพลังงานของภูมิภาคนี้ทันที
“พลังงานไม่ใช่เรื่องผูกขาดของบริษัทขนาดใหญ่อีกต่อไป แต่เป็นโอกาสของทุกคน” ฟังมาถึงตรงนี้เชื่อว่าเราทุกคนรู้ว่าพลังงานคืออนาคต แต่ในอดีตธุรกิจพลังงานมันถูกผูกขาดอยู่ในมือกลุ่มทุนขนาดใหญ่ไม่กี่กลุ่ม แต่ในยุคของ รมว.พลังงานที่ชื่อสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ เราจะกระจายโอกาสทางพลังงานให้ทุกคนมีโอกาสพัฒนาร่วมกัน ทั้งด้านความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ การทำธุรกิจ และการให้ชุมชนมีส่วนร่วม ในส่วนของบริษัทขนาดใหญ่ เราจะช่วยเค้าให้ไปแข่งขัน และสามารถเติบโตในต่างประเทศ เพราะบริษัทใหญ่ต้องพัฒนาให้แข่งขันกับนานาชาติได้ ส่วนในประเทศเราต้องส่งเสริมให้มีผู้เล่นรายใหม่ๆ ที่ช่วยกันขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้เติบโต
“8 โอกาสธุรกิจพลังงานแห่งอนาคต” โอกาสพลังงานไม่ใช่เรื่องของคนบางกลุ่มอีกต่อไป แต่คือเรื่องการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากของประเทศ ที่ทุกคนมีส่วนร่วมได้
โอกาสที่1: Trader of Asian หากเราเข้าใจเรื่องพลังงาน และมีความสัมพันธ์ที่รัฐบาลเพื่อนบ้านในระดับ G2G นี่คือโอกาสแห่งอนาคต และจะช่วยให้ประเทศไทยเป็นผู้นำด้านพลังงานของภูมิภาคในระยะยาว
โอกาสที่2: เปิดโอกาสให้เอกชน ลงทุนสายส่งไฟฟ้า เมื่อมีความต้องการไฟฟ้ามากขึ้นทั้งจากในและต่างประเทศ แน่นอนว่าธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องคือ “สายส่ง” ในอดีตภาครัฐเป็นผู้สร้างสายส่งเท่านั้น แต่หากรัฐอย่างเดียวแล้วเราติดขัดเดินหน้าได้ช้า ถ้าเราพลิกมุมคิด เปิดโอกาสให้เอกชนเข้าร่วม ก็จะเกิดโอกาสใหม่ทางธุรกิจเพิ่มขึ้นได้เช่นกัน
โอกาสที่3: Go Electricity … อีกไม่เกิน 5 ปี EV Car จะมีเป็นล้านคัน เรากำลังหารือกับทุกภาคส่วน ในการสนับสนุน ขับเคลื่อนรถ EV อย่างเป็นระบบ เพราะการส่งเสริมเรื่องนี้ จำเป็นต้องใช้ระดับนโยบายเข้าขับเคลื่อน วิธีคิดของผมคือ “วิธีการเกิด EV Car มันคือไก่กับไข่” คนอยากซื้อรถ EV แต่มันราคาแพง ทำอย่างไรให้เกิดการส่งเสริมอย่างเป็นระบบ สัปดาห์ที่แล้วท่านเอกอัครราชทูตของประเทศนอร์เวย์ได้มาแลกเปลี่ยน แบ่งปันประสบการณ์ในการส่งเสริมการใช้รถ EV ของประเทศนอร์เวย์ โดย 50% ของรถใหม่ใน Norway 50% เป็น EV CAR ดังนั้นหากเราเข้าใจและส่งเสริม EV CAR ไม่เกิน 5 ปี เราอาจมีสัดส่วนรถใหม่ ที่เป็น EV ได้ถึง 20-30% ผมกำลังเพิจารณาเรื่องเข้าเสนอคณะกรรมการ EV แห่งชาติ ใครซื้อรถ EV ให้ขึ้นทางด่วนฟรี / จอดรถฟรี / ภาษีเหลือ 50% / EV Only มี Parking Lot ให้ ถ้าทำได้ จะเป็นประโยชน์กับคนไทยทั้งประเทศ และแก้ปัญหามลพิษทางอากาศได้มาก
โอกาสที่4: Charging Station Policy … Mapping ทั้งประเทศ ปัญหาต่อไปสำหรับคนใช่รถ EV คือ Charging Station กระจุกตัว คือมีในเมืองใหญ่ แต่หากจะขับไปไกลๆ สัก 200 กม. ก็จะเริ่มกังวัลแล้วว่าจะหาที่ Charge ได้ที่ไหน ด้วยในอดีตใครอยากทำ Charging Station จะตั้งที่ไหนก็ได้ ทำให้เกิดการกระจุกตัวในเฉพาะเมืองใหญ่ ไม่มีกระจายตามทางเพราะกลัวขาดทุน แต่พอกลัวลงทุนแล้วขาดทุนก็ไม่มีคนใช้รถ EV เช่นกัน ผมกำลังพิจารณามาตรการส่งเสริม Charging Station ให้มีต้นทุนการดำเนินการที่ถูกลง แต่มีกติการ่วมกันว่า หากจะตั้ง Charging Station ต้องกระจายตัวไปที่ต่างๆ คือ เมื่อไรก็ตามที่มีคนตั้งแล้ว อีก 50 กม. คนอื่นไม่มีสิทธิ์ตั้ง ดังนั้นหากคุณอยากตั้งต้องกระจายจุดต่อไปอีก 50 กม. หากทำเช่นนนี้ได้ จะเกิดการจับจองกระจายตัว Charging Station ในทั้วประเทศได้อย่างรวดเร็ว เป็นกระกระตุ้นเศรษฐกิจฐานรากได้ในอีกมิติหนึ่งเลย แน่นอนว่าในระยะเวลา 2 ปีแรก สำหรับ Charing Station อาจขาดทุน เพราะเป็นการลงทุนล่วงหน้า เพื่อรออนาคต แต่ถ้าถึงปีที่สาม การส่งเสริมเป็นระบบคุณกำไรได้ในระยะยาวแน่นอน
โอกาสที่5: โรงไฟฟ้าชุมชน Energy for All เรื่องนี้เป็นกรพลิกมิติวิธีคิดทางด้านพลังงานที่สามารถยกตัวอย่างบรรยายได้ทั่วโลก เราคาดว่ากลางเดือนมีนาคม จะสามารถเปิดตัวได้ทั้งหมด และด้วยขนาดการลงทุนมันจะเล็กลงมาอาจอยู่ที่ 3-5 MV ทำให้ธุรกิจและคนจำนวนมากมีโอกาสมีส่วนร่วม ซ้ำยังไม่ต้องห่วงเรื่องเงินด้วย เพราะหากได้ PPA (Power Purchase Agreement) การันตีการรับซื้อไฟฟ้าจากรัฐ ธุรกิจก็มีความมั่นคง สถาบันการเงินพิจารณาปล่อยกู้ง่ายขึ้นมาก เพราะ Break Even ชัด (จุดคุ้มทุน) รายได้ชัด
ในด้านการช่วยเหลือภาคการเกษตร และเกษตรกร โรงไฟฟ้าชุมชน จะช่วยในการแก้ปัญหาและสร้างโอกาสให้เกษตรกรทั้งการปลูกหญ้าเนเปีย การแก้ปัญหาราคายางพาราด้วยพลังงาน สังเกตุดูไม่ว่าใครก็แก้ปัญหายางพาราไม่ได้ เพราะเราไม่สามารถ Control Demand ได้ เนื่องจากเราใช้ยางพาราในประเทศเพียง 20% อีก 80% เราส่งออก ดังนั้นเราไม่ได้เป็นผู้กำหนดราคา เราแก้ไขได้ยาก ทั้งยางพารายังสามารถถูกทดแทนได้ด้วยยางสังเคราะห์ เมื่อราคาน้ำมันในระดับโลกถูกลง ราคายางก็จะยิ่งถูกลงอีก ดังนั้นเราต้องพลิกมิติในการคิดเพื่อแก้ปัญหา
“ล้มยาง ปลูกพืชพลังงาน รวยกว่าเดิมเยอะ” หากเราทำความเข้าใจกับเกษตรกรผู้ปลูกยางอย่างจริงจัง ออกนโยบาย “ล้มยาง ปลูกพืชพลังงาน” เช่น ล้มยางออกครึ่งนึง ต้นสลับต้น ปลูกระถินณรงค์ ขอแค่ฝนเดียว แล้วทำเป็น Wood Chip (ไม้สับ / เศษไม้ ที่นำมาทำเป็นเชื้อเพลิง) ปลูกทีนึงตัดได้ 4-5 รอบ หรือบางพื้นที่เหมาะสมปลูกไผ่ ก็ส่งเสริมตามพื้นที่ ผมลองคำนวนดูแล้ว เกษตรกรจะมีรายได้ดีขึ้นมาก รวยกว่าเดิมเยอะ
โอกาสที่6: Solar Rooftop Booming : พลังงานแสงอาทิตย์เติบโตก้าวกระโดด เมื่อก่อนคนซื้อขายไฟได้ คือ “รัฐเท่านั้น เพียงผู้เดียว” เรากำลังรื้อกฏหมาย ให้ซื้อขายไฟได้ในพื้นที่เดียวกัน เช่น ผลิตอำเภอนี้ ขายอำเภอเดียวกันเอง ซึ่งมันก็คือเรื่อง Energy Tech ทั้งเรื่อง Micro Grid, Smart Grid แล้วใครล่ะจะทำหน้าที่บริหาร Digital Platform ตัวนี้ รวมถึง Smart Meter ต่างๆ ตอนนี้ราคา Solar Rooftop ก็ถูกลงมามากแล้ว จุดคุ้มทุนสั้นลงมาก ถ้าเรารออีกสัก 2 ปี เทคโนโลยี Battery และ Solar ยิ่งดีขึ้น ราคายิ่งถูกลง จุดคุ้มทุนสั้นขึ้น จะเกิดกระแส Solar Rooftop Booming โอกาสทางธุรกิจจะมหาศาล พลังงานจะกลายเป็นสิ่งที่ชาวบ้านถวิลหา โรงไฟฟ้าภาคเกษตรจะเปลี่ยนจากพืชทั่วไป กลายเป็นพืชพลังงาน และจะสามารถขยายไปต่างประเทศได้ ด้วย Model ของพืชพลังงาน
โอกาสที่ 7: Energy Storage Industry ประเทศไทยควรใส่ใจ ส่งเสริมและพัฒนาการลงทุนใน Energy Storage Industry เพราะเรามีโครงสร้างด้านพลังงานที่แข็งแกร่งและได้เปรียบมาก หากไม่ทำ เราอาจเหมือน Kodak ที่ไม่สนใจลงทุนจริงจังในกล้อง Digital เพราะคิดว่าายังไม่มาทั้งที่มีความพร้อมมาก อย่างไรก็ตามการจะส่งเสริมให้เกิดการลงทุนใน Energy Storage Industry เราจำเป็นต้องสร้างความต้องการในประเทศ (Local Demand) ของ Battery ให้ได้ จึงเป็นอีกเหตุผลสำคัญ ที่ทำไมเราต้องใส่ Incentive เต็มที่กับรถ EV
โอกาสที่ 8: เปลี่ยนมอเตอร์ไซค์ EV ทั้ง กทม. อีกสิ่งที่เราตั้งใจทำ คือการเปลี่ยนมอเตอร์ไซค์ EV ทั้ง กทม. โดยเราจะเริ่มจากมอเตอร์ไซค์วิน ซึ่งมีกระบวนการหารือกับผู้เกี่ยวข้อง และมีการส่งเสริมสนับสนุนอย่างเป็นระบบ ซึ่งนอกจะเป็นการกระตุ้นให้ประเทศไทย เข้าสู่ยุค EV เร็วขึ้นแล้ว ยังช่วยให้ประชาชนคนเมืองได้รับสุขภาพที่ดีขึ้นจากฝุ่นควันพิษที่ลดลง เศรษฐกิจฐานรากดีขึ้น เพราะประหยัดต้นทุนพลังงานอีกด้วย
“สนธิรัตน์ รัฐมนตรีพลังงาน ที่ทำทุกอย่างเพื่อเศรษฐกิจฐานราก อย่างยั่งยืน” ต้องบอกว่าเวลากว่า 2 ชม. เมื่อวานนี้ ที่ รมว.พลังงาน ได้แบ่งปันประสบการณ์เต็มที่กับเราชาว Scaler จบไปด้วยความอบอุ่น ประทับใจ และเต็มไปด้วยแรงบันดาลใจและความหวัง ที่เราเหล่านักธุรกิจรุ่นใหม่ รู้สึกจากหัวใจว่า “ดีใจ ที่ประเทศไทย มีรมว. พลังงาน ชื่อสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์” ที่กล้าคิด กล้าทำ กล้าชน โดยไม่ได้เอาผลประโยชน์ส่วนตนเป็นที่ตั้ง แต่คำนึงถึงรากฐานการพัฒนาประเทศ และเศรษฐกิจฐานรากในระยะยาว
เชื่อมั่นจากหัวใจว่า หากท่านได้ทำหน้าที่อีกเพียงไม่เกิน 2 ปี เราจะได้เห็น “การพลิกประเทศด้วยพลังงาน” ดัง “ทฤษฎีสามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา” ที่แม้สิ่งที่ตั้งใจจะยากสักแค่ไหน หากเราพัฒนาให้เกิดความสมดุลระหว่าง 3 ส่วน คือ การสร้างความรู้ที่เกี่ยวข้อง ความเคลื่อนไหวสังคม และ อำนาจรัฐเข้ามาเชื่อมโยงกัน สำหรับเรานี่คือความหวังและโอกาส ในการขับเคลื่อนประเทศอย่างเป็นรูปธรรม ที่ทุกคนมีส่วนร่วมร่วมกันได้อย่างชัดเจน สมกับแนวคิด “Energy for All” พลังงานเพื่อทุกคน !!
ด้วยความปรารถนาดี บอม โอฬาร วีระนนท์ (ผู้เรียบเรียง) CEO & Co-Founder, DURIAN Director & Co-Founder, 2morrow Scaler
Comments